
1.1 การปฏิบัติตนในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1. นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชา ฝ่ายวิชาการ เช่น การปฐมนิเทศ การปัจฉิม นิเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่วิทยาลัยฯ กำหนดไว้
2. ติดรูปถ่ายชุดนักศึกษา ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ในสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและชัดเจน
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติและวางตัวให้เหมาะสม ระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพดังนี้
3.1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎข้อบังคับของสถานที่ฝึกประสบการณ์อย่างเคร่งครัด
3.2 ต้องลงเวลามาปฏิบัติงานและกลับทุกครั้ง โดยมีลายเซ็นรับรองของผู้ดูแลนักศึกษาในสถานที่ฝึกประสบการณ์
3.3 ต้องทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันตามแบบที่วิทยาลัยฯ กำหนดไว้ และส่งอาจารย์นิเทศการฝึกประสบการณ์ตรวจ ในวันที่อาจารย์นิเทศ ปฏิบัติหน้าที่
3.4 ต้องเป็นคนตรงต่อเวลาทั้งเวลาไปและกลับ
3.5 ต้องมีใบลาทุกครั้งที่ป่วยหรือไม่สามารถฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามปกติได้ โดยส่งใบลาที่หัวหน้างานที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์อยู่
3.6 ต้องขออนุญาตหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมการฝึกทุกครั้งที่จะออกนอกสถานที่ฝึกประสบการณ์
3.7 ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย ตามระเบียบของวิทยาลัยฯ หรือสถานประกอบการ ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา
3.8 ต้องไม่พาเพื่อนหรือบุคคลอื่นๆ เข้ามาในสถานที่ฝึกประสบการณ์ โดยไม่ได้ขออนุญาตสถานที่ฝึกประสบการณ์นั้นก่อน
3.9 ต้องมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3.10 ต้องรับฟังความคิดเห็น และคำแนะนำของหัวหน้างาน ผู้ควบคุมการฝึก และอาจารย์นิเทศ เพื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
3.11 ให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมต่างๆ และให้ความช่วยเหลือต่อสถานที่ฝึกประสบการณ์
3.12 ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ผู้มาติดต่อโดยเฉพาะการแสดงออกทั้ง กิริยา ท่าทาง และการพูด จะต้องมีความสุภาพอ่อนน้อม
4. พบอาจารย์นิเทศ หรือแจ้งหน่วยงานทันทีเมื่อมีปัญหา
5. สรุป ประสบการณ์ในการฝึก และ ข้อเสนอแนะของนักศึกษาจากการฝึกฯ เพื่อร่วมกิจกรรมในวันปัจฉิมนิเทศ
หมายเหตุ ถ้านักศึกษาไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ขณะฝึกประสบการณ์เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะไม่พิจารณาผลการประเมินของสถานที่ฝึกประสบการณ์นั้น
1.2 การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน
การบันทึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หน้าที่ในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละชั่วโมง และแต่ละวันเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการบันทึกทำให้นักศึกษาได้เก็บข้อมูล ปัญหา ข้อคิด และประสบการณ์ในขณะปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์งาน สรุปผลงาน ตลอดจนการเสนอแนะต่างๆ ดังนั้นการบันทึก จึงมีประโยชน์ดังนี้
1. การฝึกนิสัยที่ดีแก่นักศึกษาที่ฝึกอาชีพให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ
2. ข้อมูลตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ ที่บันทึกไว้จะเปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นความจริงในการปฏิบัติงาน
3. การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ จะเป็นบรรทัดฐานที่ดี ให้นักศึกษาสามารถนำไปปรับปรุงตนเองเมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพ
4. การบันทึกข้อมูลเป็นเทคนิควิธี ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ จะอำนวยประโยชน์ต่อนักศึกษาโดยตรง
ข้อเสนอแนะในการบันทึกงาน
1. นักศึกษาต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานแต่ละวันในตารางที่กำหนด
2. ในการบันทึกแต่ละครั้ง ให้นักศึกษาลงนามกำกับไว้ด้านท้าย
3. ให้ผู้ควบคุมการฝึกงานลงนามรับรอง หรือ แสดงข้อเสนอแนะด้วยทุกครั้ง
4. เสนอบันทึกต่ออาจารย์นิเทศหรือผู้ตรวจฝึกประสบการณ์ทราบ เมื่อไปนิเทศหรือตรวจการฝึกประสบการณ์
5. การบันทึกต้องเป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย และมีลำดับขั้นตอนก่อนหลัง
1.3 สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้นักศึกษาเขียนสรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จาก
1. ข้อมูลการบันทึกปฏิบัติงานประจำวัน
2. สภาพแวดล้อมที่วัดและสังเกตได้
3. ข้อเสนอแนะของผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ ครูผู้ฝึก และอาจารย์นิเทศ
4. ข้อมูลเด่นๆ หรือที่สำคัญๆ ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ข้อเสนอแนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาให้นักศึกษาเขียนข้อเสนอแนะ โดย
1. เสนอแนะจากความเป็นจริง
2. เสนอแนะในทางสร้างสรรค์
3. เสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษารุ่นต่อไป
4. เสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานของวิทยาลัยฯ
5. เสนอแนะเป็นข้อๆ และมีความชัดเจน
อ้างอิง : https://www.krungthon.ac.th/th/around-college/internship